วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การนวดแผนไทย

 การนวดไทยเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย เป็นวัฒนธรรมดูแลสุขภาพกันเองภายในครอบครัวเมื่อมีการเหน็ดเหนื่อย เมื่อยล้า
                ปวดเมื่อยตามร่างกาย พร้อมทั้งพัฒนาเรียนรู้มาเป็นการนวดเพื่อการรักษาโรค(Therapeutic massage) มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการนวด
               เป็นการสัมพัสเพื่อให้รู้สึกสบายและผ่อนคลาย แม้จะมีวิธีปฏิบัติหลายรูปแบบ แต่ทุกแบบจะมี การตี ลูบ ถู กด เฟ้น และทุบผิวหนัง กล้ามเนื้อ และข้อ อย่างเป็นระบบ 
               บางครั้งอาจใช้ การนวดร่วมกับวิธีอื่น เช่น การประคบสมุนไพร การบำบัดด้วยน้ำมันหอม และวารีบำบัด
                                ดังนั้น กองประกอบโรคศิลปะ 2544 ได้ให้ความหมายของการนวดไทยว่า เป็นการตรวจ ประเมิน การวินิจฉัย การบำบัด การป้องกันโรค 
               การส่งเสริมสุขภาพ  และการฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การตัด การดึง การประคบ การอบ หรือวิธีการอื่นตามศิลปะการนวดไทยหรือการใช้ยา
               ตามกฎหมายว่าด้วยยา ทั้งนี้ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

               ประเภทของการนวดไทย(สถาบันการแพทย์แผนไทย 2542)


               
การนวดแบบราชสำนัก

                               เป็นการนวดไทยที่ใช้ในพระราชวัง ดังนั้นท่าต่างๆ ในการนวดจึงได้รับการพัฒนา ให้สุภาพและมักนวดด้วยนิ้วมือเท่านั้น เพื่อให้สามารถควบคุม
               น้ำหนักในการนวดไม่ให้มากเกินไป  และไม่ให้เป็นที่ ล่วงเกินต่อพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ จนมีคำกล่าวว่า แม้เพียงลมหายใจก็ไม่ให้แตะต้องพระวรกาย
               โดยมีองศามาตราส่วน ของการนวดที่ไม่ประชิดตัวมากและจะหันหน้าตรงไป  ไม่ก้มหน้าหายใจรดพระองค์ และไม่เงยหน้าจนเป็นการไม่เคารพ
                               การนวดไทยเป็นที่นิยมมากและยอมรับมากในสมัยโบราณ และเป็นผู้ใกล้ชิดและเป็นที่ไว้วางใจของพระมหากษัตริย์ ในสมัยนั้นจนได้รับการแต่งตั้ง
               ให้มีกรมหมอนวดซ้าย  และกรมหมอนวดขวา ทำให้หมอนวดสามารถรับราชการอยู่ในตำแหน่งระดับสูงได้
                               ปัจจุบันมีผู้สืบทอดการนวดแบบนี้น้อยมาก เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นการถ่ายทอดกันในครอบครัว และผู้รู้มักหวงวิชา ทำให้การนวดสายนี้ได้รับ
               การถ่ายทอดกระท่อนกระแท่นเต็มที การนวดไทยนี้ มีคุณค่าต่อการพึ่งตนเองเป็นอย่างมาก สามารถบรรเทาโรคและอาการปวดต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในความรู้สึก
               ของผู้ใช้บริการ เช่นอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อลดการติดขัด ของข้อต่อ ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การนวดที่ไม่ถูกต้อง 
               อาจเป็นการซ้ำเติมหรือเพิ่มการบาดเจ็บได้ ฉะนั้นผู้ที่จะนำการนวดไปใช้ จึงควรมีความรู้ในการใช้อย่างถูกต้อง  เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างแท้จริง
               

               
 
 
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
 
 
 

 

               ลักษณะการนวด
                               ผู้นวดจะต้องเดินเข่าเข้าหาผู้ป่วยที่นอนอยู่บนพื้น เมื่ออยู่ห่างผู้ป่วยราว 2 ศอก จึงนั่งพับเพียบและคารวะขออภัย ผู้ป่วย หลังจากนั้นหมอจะคลำชีพจร
               ที่ข้อมือ  และหลังเท้าข้างเดียวกันเมื่อตรวจดูอาการของโรคแล้ว จึงเริ่มทำการนวด คล้ายการนวดแบบทั่วไปต่างกันที่ตำแหน่งการวางมือองศาที่แขนของผู้นวดทำกับตัว
               ของผู้ป่วยและท่าทางของผู้นวด ซึ่งจะต้องกระทำอย่างสุภาพยิ่ง การนวดแบบราชสำนัก พิจารณาถึง คุณสมบัติของผู้เรียนอย่างประณีตถี่ถ้าน และการสอนที่ขั้นตอน
               จรรยามารยาทของการนวด ใช้อวัยวะได้น้อย และต้องตรงตามจุด จึงกล่าวไว้ว่าการฝึกมือและการนวดมีเอกลักษณ์เฉพาะการนวดแบบราชสำนักเป็นการนวดพื้นฐานต่าง ๆ 
               เช่น พื้นฐานขา (แบ่งเป็นขาด้านนอกและขาด้านในและในท่านอน) พื้นฐานหลัง พื้นฐานแขน  (แบ่งเป็นแขนด้านนอกและด้านใน) 
               พื้นฐานบ่า การนวดกล้ามเนื้อต้นคอการนวดศีรษะ(แบ่งเป็นด้านหน้าและด้านหลัง) การนวดคลายกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง (ท่าแหวก ท่านาบ)

               ประโยชน์
                               - ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
                               - เพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง
                               - กระตุ้นระบบประสาท
                               - เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ
                               - ฟื้นฟูสภาพของระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท


               
การนวดแบบเชบยศักดิ์ 

                                หมายถึง การนวดแบบสามัญชน มีการสืบทอดฝึกฝนแบบแผนการนวดตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งเหมาะมากสำหรับชาวบ้านนวดกันเองช่วยรักษาโรค
               และอาการพื้นฐานง่าย ๆ  เช่นปวดเมื่อยทั่วไปอันเกิดจากการทำงานประจำวัน เพียงใช้สองมือและอวัยวะส่วนอื่นก็รักษาได้ โดยไม่ต้องใช้ยา ปัจจุบันการนวดแบบเชลยศักดิ์
               เป็นที่นิยมของผู้มาใช้บริการอย่างกว้างขวางเพราะได้อารมณ์ และรสชาติของการนวดของคนขี้เมื่อย แต่ควรนวดในที่รโหฐาน เพราะถ้านวดจะใกล้ชิดคบลุกคลีกันมาก
               และควรเป็นผู้หญิงนวดผู้หญิง  ผู้ชายนวดผู้ชายจะเหมาะสมกว่า การนวดแบบเชลยศักดิ์เป็นการนวดบริเวณกล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ ของร่างกาย
                               การนวดไทยแบบเชลยศักดิ์ เป็นการนวดที่ปรากฎอยู่ในวัดและในสังคมทั่วไป มีการสอนแบบสืบทอดกันมาจากคนรุ่นเก่าและมีแบบแผนการนวดตาม
               วัฒนธรรมท้องถิ่น ก่อนเริ่มนวด  ผู้นวดจะต้องพนมมือไหว้ครูเสียก่อนในขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่บนพื้น หลังจากนั้นผู้นวดจึงเริ่มนวดจากเท้าขึ้นไปยัง หัวเข่า คอแข็งจากการตกหมอน 
               รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืดเฟ้อ ท้องผูก ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเข่า ตะคริว ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ อาการวิงเวียน ช่วยคลายคีวามเครียดทางร่างกายและจิตใจ 
               ช่วยให้ข้อที่เคลื่อนกลับเข้าที่ได้
               

               
 

               ลักษณะการนวดไทยแบบเชลยศักดิ์ 
                               1. การนวดไทยแบบเชลยศักดิ์  จะเริ่มต้นการนวดที่ฝ่าเท้า
                               2. การนวดไทยแบบเชลยศักดิ์ทำการนวดผู้ป่วยในท่านั่ง ท่านอนหงายหรือนอนตะแคง และท่านอนคว่ำ
                               3. การนวดไทยแบบเชลยศักดิ์สามารถดัดหรืองอข้อ  หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายด้วยกำลังแรง มีการนวดโดยใช้เข่า และข้อศอก
                               4. การทำให้เกิดผลต่ออวัยวะและเนื้อเยื่อนั้น การนวดแบบเชลยศักดิ์หวังผลโดยการนวดคลึงเป็นครั้งคราวและการกดนวดเป็นส่วนใหญ่ 
                                           ถ้าผู้นวดบางคนมีความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ไม่ดีพอ
                                           อาจทำให้อาการป่วยแต่เดิมกลับเป็นมากขึ้นหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างอื่นขึ้นกับผู้ป่วยได้

               ประโยชน์
                               - ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
                               - เพิ่มระบบไหลเวียนโลหิต
                               - เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ
                               - ฟื้นฟูสภาพของระบบกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนโลหิต

               ข้อห้ามในการนวด
                               สำหรับข้อห้ามในการนวดได้แก่ ผู้เป็นไข้พิษ ไข้กาฬ มีตัวร้อยจัดมีอาการเจ็บกระดูกและขุมขน (ฝีดาษบาดทะยัก) เป็นไส้ติ่งอักเสบใกล้แตก 
               ผู้ป่วยมีโรคผิวหนังที่ติดต่อได้  มีอาการกระเพาะอาหารเป็นแผล หรือเป็นนิ่วในไต เป็นต้น
               

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ขอถวายพระพรในหลวง

                                    ห้องนวดแผนไทย รพ.รร.จปร.ขอถวายพระพรชัยพระเจ้าอยู่หัวขอทรงพระเจริญ